เมนู

หรือเราจักไม่พ้นจากโรคฟัน ความสงสัยย่อมเกิดเพราะอาศัยวัตถุที่ไม่น่า
ปรารถนาอย่างนี้.
ความสงสัยย่อมเกิดเพราะอาศัยวัตถุที่น่าปรารถนาอย่างไร ความ
สงสัยย่อมเกิดเพราะอาศัยวัตถุที่น่าปรารถนาว่า เราจักได้รูปที่ชอบใจ
หรือหนอ หรือเราจักไม่ได้รูปที่ชอบใจ เราจักได้เสียง กลิ่น รส โผฏ-
ฐัพพะ สกุล คณะ อาวาส ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข จีวร บิณฑบาต
เสนาสนะ เราจักได้คิลานปัจจัยเภสัชบริขารที่ชอบใจหรือหนอ หรือเรา
จักไม่ได้คิลานปัจจัยเภสัชบริขารที่ชอบใจ ความสงสัยย่อมเกิดเพราะอาศัย
วัตถุที่น่าปรารถนาอย่างนี้ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ความโกรธ ความเป็น
ผู้พูดเท็จและความสงสัย.
[474] คำว่า ธรรมแม้เหล่านี้ . . . เมื่อความดีใจและความเสีย
ใจทั้งสองมีอยู่ ก็มีมา
ความว่า เมื่อความดีใจและเสียใจมีอยู่ คือเมื่อ
สุขและทุกข์ โสมนัสและโทมนัส วัตถุที่น่าปรารถนาและวัตถุที่ไม่น่า
ปรารถนา ความยินดีและเพราะความยินร้าย มีอยู่ คือปรากฏ อันตน
เข้าไปได้อยู่ ธรรมแม้เหล่านี้ . . . ก็มีมา ฉะนั้น จึงชื่อว่า ธรรมแม้เหล่านี้
. . . เมื่อความดีใจและความเสียใจ ทั้งสองมีอยู่ ก็มีมา.

ว่าด้วยสิกขา 3


[475] คำว่า บุคคลผู้มีความสงสัย พึงศึกษาเพื่อทางแห่ง
ญาณ
ความว่า แม้ญาณก็ชื่อว่าทางแห่งญาณ แม้อารมณ์แห่งญาณก็ชื่อว่า
ทางแห่งญาณ แม้ธรรมทั้งหลายอันเกิดร่วมกับญาณก็ชื่อว่าทางแห่งญาณ
เปรียบเหมือนอริยมรรคก็ชื่อว่าทางแห่งอริยะ เทวมรรคก็ชื่อว่าทางแห่ง

เทวดา พรหมมรรคก็ว่าทางแห่งพรหมฉันใด แม้ญาณก็ชื่อว่าทางแห่ง
ญาณ แม้อารมณ์แห่งญาณชื่อว่าทางแห่งญาณ แม้ธรรมทั้งหลายอันเกิด
ร่วมกับญาณก็ชื่อว่าทางแห่งญาณฉันนั้น. สิกขา ในคำว่า พึงศึกษา มี
3 อย่าง คือ อธิศีลสิกขา อธิจิตตสิกขา 1 อธิปัญญาสิกขา 1.
อธิศีลสิกขาเป็นไฉน. ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีศีล สำรวม
แล้วด้วยความสำรวมในปาติโมกข์ ถึงพร้อมด้วยอาจาระและโคจร มีปกติ
เห็นภัยในโทษทั้งหลายมีประมาณน้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบท
ทั้งหลาย ศีลขันธ์น้อย ศีลขันธ์ใหญ่ ศีลเป็นที่พึ่ง เป็นเบื้องต้น เป็น
เบื้องบาท เป็นความสำรวม เป็นความระวัง เป็นปาก เป็นประธาน
แห่งความถึงพร้อมแห่งธรรมทั้งหลายฝ่ายอกุศล นี้ชื่อว่า อธิศีลสิกขา.
อธิจิตตสิกขาเป็นไฉน. ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม ฯลฯ
จึงบรรลุจตุตถฌาน นี้ชื่อว่า อธิจิตตสิกขา.
อธิปัญญาสิกขาเป็นไฉน. ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีปัญญา
ประกอบด้วยปัญญาอันให้ถึงความเกิดและความดับ เป็นอริยะ ชำแรก
กิเลส อันให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ ภิกษุนั้นย่อมรู้ชัดตามความเป็น
จริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา และรู้ชัดตามความเป็น
จริงว่า เหล่านี้อาสวะ ฯลฯ นี้ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับอาสวะ นี้ชื่อว่า
อธิปัญญาสิกขา.
คำว่า ผู้มีความสงสัย พึงศึกษาเพื่อทางแห่งญาณ ความว่า บุคคล
ผู้มีความสงสัย เคลือบแคลง ลังเล เป็นสองทาง ไม่แน่ใจ พึงศึกษา
อธิศีลบ้าง อธิจิตบ้าง อธิปัญญาบ้าง เพื่อความบรรลุญาณ เพื่อความ
ถูกต้องญาณ เพื่อความทำให้แจ่มแจ้งญาณ บุคคลเมื่อนึกถึงสิกขา 3 นี้

พึงศึกษา คือเมื่อรู้ เมื่อเห็น เมื่อพิจารณา เมื่ออธิษฐานจิต เมื่อน้อม
ใจไปด้วยศรัทธา เมื่อประคองความเพียร เมื่อตั้งสติ เมื่อตั้งจิต เมื่อรู้ชัด
ด้วยปัญญา เมื่อรู้ยิ่งธรรมที่ควรรู้ยิ่ง เมื่อกำหนดรู้ธรรมที่ควรกำหนดรู้
เมื่อละธรรมที่ควรละ เมื่อเจริญธรรมที่ควรเจริญ เมื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรม
ที่ควรทำให้แจ้ง ก็พึงศึกษา ประพฤติเอื้อเฟื้อ ประพฤติเอื้อเฟื้อโดยชอบ
สมาทานประพฤติ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า บุคคลผู้มีความสงสัย พึงศึกษา
เพื่อทางแห่งญาณ.

ว่าด้วยธรรมที่พระสมณะทราบ


[476] คำว่า และธรรมเหล่าใด อันพระสมณะทราบแล้ว จึง
ตรัสไว้
ความว่า ธรรมทั้งหลายอันพระสมณะทรงทราบ ทรงรู้ พิจารณา
เทียบเคียงให้แจ่มแจ้ง ทำให้เป็นแจ้งแล้ว ตรัสไว้ ตรัสสอน ตรัสบอก
ทรงแสดงบัญญัติ แต่งตั้ง เปิดเผย จำแนก ทำให้ตื้น ประกาศแล้ว
คือทรงทราบ ทรงรู้ พิจารณา เทียบเคียง ให้แจ่มแจ้ง ทำให้เป็นแจ้ง
แล้ว ตรัสไว้ ตรัสสอน ตรัสบอก ทรงแสดง บัญญัติ แต่งตั้ง เปิดเผย
จำแนก ทำให้ตื้น ประกาศแล้วว่า สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง สังขารทั้งปวง
เป็นทุกข์ ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขาร
ฯลฯ เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงมีชรามรณะ เพราะอวิชชาดับ สังขาร
จึงดับ ฯลฯ เพราะชาติดับ ชรามรณะจึงดับ นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกข-
นิโรธคามินีปฏิปทา เหล่านี้อาสวะ ฯลฯ นี้ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับอาสวะ
ธรรมเหล่านี้ควรรู้ยิ่ง ธรรมเหล่านี้ควรกำหนดรู้ ธรรมเหล่านั้นควรละ
ธรรมเหล่านี้ควรเจริญ ธรรมเหล่านี้ควรทำให้แจ้ง ความเกิด ความดับ